นายวรวิทย์ โสภาพันธ์ ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 1 มอบหมายให้ นางแสงเดือน สายโสภา รอง ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 1 เป็นประธานพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย (ประเทศไทย) ระดับปฐมวัย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD) โดยเชื่อมโยงและประยุกต์มิติการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มาปรับให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ซึ่งดัดแปลงเป็นสามเหลี่ยมของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Triangle) ประกอบด้วยสามด้าน แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันและต้องรักษาสมดุลกัน ได้แก่ ด้านสังคม (Society) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) และ ด้านสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ (Environment/Ecology) แนวคิดการส่งเสริมและพัฒนาเด็กตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีการบริหารจัดการที่รวมพลังขับเคลื่อนทุกภาคส่วนในสถานศึกษา ควรมีการบริหารจัดการและกำหนดกระบวนการ แนวคิด และกลวิธีสอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งที่สำคัญและให้ความสำคัญมาก คือ การพัฒนาคุณสมบัติครูผู้สอนที่สะท้อนออกมาเป็นค่านิยมที่แสดงออกในภาคปฏิบัติ (Practiced values) ดังนั้นครู จะทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของเด็ก (Facilitators) และเป็นต้นแบบ (Role models) ครูผู้สอนควรพัฒนาความเข้าใจในเป้าหมาย และการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ๆ ต่อไป ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมราชธานี สพป.อุบลราชธานี เขต 1 อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี : ธนิษฐา ศรีอุฬารวัฒน์-รัชดาภรณ์ มะหิพันธ์-อนัญญา ศิริโท /ภาพ ข่าว Cr ศน.กิติคุณ จตุรภัทรวงศ์